วันที่นำเข้าข้อมูล 14 ก.ย. 2562
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 23 ส.ค. 2565
งานทะเบียนราษฎร์
การแจ้งเกิดให้แก่บุตร (ที่มีสามี และ/หรือภรรยาถือสัญชาติไทย)
เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขอแจ้งเกิด
1. สำเนาหนังสือเดินทาง/สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของบิดา - มารดา
2. ทะเบียนสมรสของบิดา - มารดา
* หากบิดา-มารดาจดทะเบียนสมรสภายใต้กฎหมายของประเทศอื่นที่มิใช่ของประเทศไทย จะต้องนำทะเบียนสมรสดังกล่าวไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ และต้องนำไปรับรองเอกสารจากสถานเอกอัครราชทูตของประเทศที่จดทะเบียนสมรส
3. สูติบัตรของทางการยูเออี
ค่าธรรมเนียม
- ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
ระยะเวลาดำเนินการ
- ประมาณ 30-45 นาที โดยขอให้ผู้ที่มาแจ้งเกิดติดต่อกับฝ่ายกงสุล สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ +971 2 557 6551 ต่อ 111 ในวันและเวลาราชการ
การแจ้งตายของบุคคลสัญชาติไทย
เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขอแจ้งตาย
1. หนังสือเดินทางของผู้ตาย
2. ใบมรณบัตรของทางการยูเออี
3. หนังสือเดินทางของผู้แจ้ง
ค่าธรรมเนียม
- ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
ระยะเวลาดำเนินการ
- ประมาณ 30-45 นาที โดยขอให้ผู้้ที่แจ้งการตาย ติดต่อกับฝ่ายกงสุล สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ +971 2 557 6551 ต่อ 111 ในวันและเวลาราชการ
การจดทะเบียนสมรส
เพื่อความสะดวกในการรับรองเอกสารและนำเอกสารกลับไปใช้ที่ประเทศไทย สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี ขอแนะนำให้ผู้ที่ประสงค์จะจดทะเบียนสมรสทั้งผู้ที่ถือสัญชาติไทยและชาวต่างชาติ ควรมีถิ่นพำนักในยูเออี (มี UAE Residence Visa) เพื่อให้การดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ เป็นไปได้ด้วยความสะดวกและรวดเร็ว
เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรส
ชาย
1. หนังสือเดินทาง
2. บัตรประจำตัวประชาชน
3. ทะเบียนบ้าน
4. หนังสือรับรองความเป็นโสดจากภูมิลำเนาที่ตนเองมีถิ่นที่อยู่ โดยหนังสือรับรองต้องมีอายุไม่เกิน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนสมรส
5. ใบทะเบียนหย่า (กรณีเคยหย่ามาก่อน)
6. หากจดทะเบียนสมรสกับคนต่างชาติ ต้องมีหนังสือรับรองสถานภาพของคู่สมรส (หนังสือรับรองความเป็นโสดรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศนั้นๆ) โดยขอให้คู่สมรสชาวต่างชาติติดต่อกับสถานเอกอัครราชทูตของชาติตนเองเพื่อขอรับคำแนะนำ
หญิง
1. หนังสือเดินทาง
2. บัตรประจำตัวประชาชน
3. ทะเบียนบ้าน
4. หนังสือรับรองความเป็นโสดจากภูมิลำเนาที่ตนเองมีถิ่นที่อยู่ โดยหนังสือรับรองต้องมีอายุไม่เกิน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนสมรส
5. ใบทะเบียนหย่า (กรณีเคยหย่ามาก่อน)
6. หากจดทะเบียนสมรสกับคนต่างชาติ ต้องมีหนังสือรับรองสถานภาพของคู่สมรส (หนังสือรับรองความเป็นโสดรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศนั้นๆ) โดยขอให้คู่สมรสชาวต่างชาติติดต่อกับสถานเอกอัครราชทูตของชาติตนเองเพื่อขอรับคำแนะนำ
7. ใบรับรองแพทย์ในกรณีจดทะเบียนก่อนครบ 310 วัน หลังจากจดทะเบียนหย่า ***
ค่าธรรมเนียม
- ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
ระยะเวลาดำเนินการ
- ประมาณ 30 นาที
- ขอให้ผู้ที่ประสงค์จะจดทะเบียนสมรส ติดต่อกับฝ่ายกงสุลของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี เพื่อนัดหมายและตรวจสอบเอกสาร โดยติดต่อได้ที่ +971 2 557 6551 ต่อ 111 ในวันและเวลาราชการ หรือทางอีเมล์ [email protected]
การจดทะเบียนหย่า
เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขอจดทะเบียนหย่า
1. ใบทะเบียนสมรส
2. หนังสือเดินทาง
3. บัตรประจำตัวประชาชน
4. ทะเบียนบ้าน
ค่าธรรมเนียม
- ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
ระยะเวลาดำเนินการ
- ประมาณ 30 นาที
- ขอให้ผู้ที่ประสงค์จะจดทะเบียนหย่า ติดต่อกับฝ่ายกงสุลของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี เพื่อนัดหมายและตรวจสอบเอกสาร โดยติดต่อได้ที่ +971 2 557 6551 ต่อ 111 ในวันและเวลาราชการ หรือทางอีเมล์ [email protected]
การนำเอกสารมารับรองกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี
1. เจ้าของเอกสารมารับรองเอกสารด้วยตนเอง
คนไทย: ต้องแสดงบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางต่อเจ้าหน้าที่
คนต่างชาติ: ขอให้แสดงหนังสือเดินทางและเอกสารการพำนักอาศัยอยู่ในยูเออี
2. ในกรณีที่ไม่ใช่เจ้าของเอกสาร
- จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของเอกสาร พร้อมสำเนาบัตรประชาชน/สำเนาหนังสือเดินทางของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
* เอกสารที่จะรับรองจะต้องมีต้นฉบับมาแสดงด้วยเสมอ
3. การรับรองเอกสารภาษาไทยที่ออกโดยสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในประเทศที่พำนักอยู่
- ผู้ร้องสามารถติดต่อบริษัทเอกชนในการแปลเอกสารจากภาษาไทยเป็นภาษาท้องถิ่น โดยภายหลังการแปล สถานเอกอัครราชทูตฯ จะดำเนินการรับรองเอกสาร และผู้ร้องจะต้องนำเอกสารดังกล่าวไปรับรองที่กระทรวงการต่างประเทศของยูเออี เพื่อนำไปใช้ในประเทศดังกล่าวต่อไป
4. การรับรองเอกสารที่ออกโดยหน่วยราชการในประเทศไทยไปใช้ในประเทศมุสลิม
1. ต้องนำเอกสารภาษาไทยไปแปลเป็นภาษาอาหรับและรับรองที่สำนักจุฬาราชมนตรี ตั้งอยู่ที่ 24 หมู่ 12 ถนนมิตรไมตรี
แขวงหนองจอก เขตหนองจอก กรุงเทพฯ โทร. 988-1656
2. นำเอกสารที่สำนักจุฬาราชมนตรีรับรองแล้วไปทำการรับรองที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล
กระทรวงการต่างประเทศ ถนนแจ้งวัฒนะ
3. นำเอกสารไปทำการรับรองที่สถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศก่อนที่จะนำไปใช้
4. ทั้งนี้ ในบางกรณี อาจจำต้องนำไปให้กระทรวงการต่างประเทศนั้นๆ รับรองลายมือชื่อเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตก่อน จึงจะใช้เป็นหลักฐานยื่นต่อหน่วยงานต่างๆ ของประเทศนั้นได้้
* หากเป็นเอกสารที่จะใช้ในศาลต้องนำเอกสารนั้นไปรับรองที่กระทรวงยุติธรรมอีกครั้งหนึ่งถึงจะใช้ได้ตามกฏหมาย
การรับรองสำเนาถูกต้อง (เฉพาะคนไทย)
- นำต้นฉบับของเอกสารภาษาไทยไปแสดงที่สถานเอกอัครราชทูตฯ พร้อมถ่ายสำเนา 1 ชุด เพื่อรับรอง
หนังสือมอบอำนาจ
ผู้มอบอำนาจต้องมาลงนามต่อหน้าที่เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ พร้อมเอกสารประกอบ คือ
- สำเนาบัตรประชาชน/สำเนาหนังสือเดินทาง
- เอกสารที่เกี่ยวข้องของผู้ที่จะมอบอำนาจให้ (บัตรประชาชน เอกสารยืนยันตัวบุคคล)
- กรณีเป็นชาวต่างชาติ จะต้องให้บุคคลดังกล่าวยื่นขอรับรองลายมือชื่อตนเองจากสถานเอกอัครราชทูตของประเทศตนเองพร้อมตราประทับเจ้าหน้าที่กงสุล พร้อมกับนำเอกสารไปยังกระทรวงการต่างประเทศยูเออีเพื่อรับรองเอกสาร และจึงจะนำมาใช้กับสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงอาบูดาบี ได้