หนังสือเดินทางไทย

หนังสือเดินทางไทย

วันที่นำเข้าข้อมูล 14 ก.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 23 ส.ค. 2565

| 16,856 view

ขั้นตอนการยื่นขอหนังสือเดินทางฉบับใหม่
(แทนฉบับเดิมที่หมดอายุ)

ณ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี

 

กรณีบุคคลบรรลุนิติภาวะ (เกิน 20 ปี)

เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางธรรมดา ของบุคคลบรรลุนิติภาวะ

  • หนังสือเดินทางฉบับปัจจุบัน
  • บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือ บัตรข้าราชการ หรือ บัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับจริง (ในกรณีที่เป็นบัตรข้าราชการให้นำสำเนาทะเบียนบ้านมาด้วย)
  • หากมีรายการแก้ไขชื่อสกุล หรือวันเดือนปีเกิด ฯลฯ ซึ่งไม่ตรงกับบัตรประชาชนให้นำหลักฐานการแก้ไขที่เกี่ยวข้องมาแสดงด้วย
  • ค่าธรรมเนียมการทำหนังสือเดินทาง ราคา 130 ดีแรห์ม สำหรับหนังสือเดินทางอายุ 5 ปี เเละราคา 250 ดีเเรห์ม สำหรับหนังสือเดินทางอายุ 10 ปี (ต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป) / หากผู้ร้องประสงค์จะทำการต่อวีซ่าจากเล่มเก่ามายังเล่มใหม่ (endorsement) จะมีค่าธรรมเนียมในการดำเนินการ 20 ดีแรห์ม
  • ระยะเวลาดำเนินการ 4-8 สัปดาห์ จึงจะได้รับหนังสือเดินทางเล่มใหม่ โดยผู้ร้องจะต้องนำใบเสร็จการชำระค่าธรรมเนียมพร้อมหนังสือเดินทางเล่มเก่ามาด้วยในวันที่มารับเล่มใหม่ หรือหากไม่สามารถเดินทางมารับได้ด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมารับแทนได้ โดยมีหนังสือมอบอำนาจและลงนามอย่างเป็นทางการ 

 

กรณีผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุน้อยกว่า 20 ปี)

เอกสารหรือหลักฐานที่ต้องใชกรณีผู้เยาว์ (อายุตํ่ากว่า 20 ปีบริบูรณ์)
- บัตรประจําตัวประชาชนฉบับจริงของผู้เยาว์ที่ยังมีอายุการใช้งาน
- สูติบัตรฉบับจริง กรณีผู้เยาว์อายุยังไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์
- บัตรประจําตัวประชาชนตัวจริง หรือหนังสือเดินทางของบิดา
- บัตรประจําตัวประชาชนตัวจริง หรือหนังสือเดินทางของมารดา
- หากบิดาหรือมารดาเป็นชาวต่างชาติ ให้ใช้หนังสือเดินทางฉบับจริงของบิดาหรือมารดา โดยบิดาและมารดาต้องมาลงนามให้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ในวันรับคําร้อง 

  • กรณีบิดาหรือมารดาหรือทั้งบิดาและมารดาไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมได้ -  ใหบุคคลที่ไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมฯ ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ทําหนังสือยินยอมใหผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศจากอําเภอ สำนักงานเขต หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น พร้อมบัตรประจําตัวประชาชนฉบับจริงที่มีอายุการใช้งานของบิดาหรือมารดาที่ไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมได้ หรือหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศจากสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือสถานกงสุลใหญ่ไทย กรณีที่บิดาหรือมารดาอยู่ในต่างประเทศ
  • เฉพาะกรณีผู้เยาว์อายุตํ่ากว่า 15 ปีบริบูรณ์ที่บิดาและมารดาไม่สามารถมาลงนามให ้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ได้ ให้ทําหนังสือมอบอํานาจจากอําเภอ สานักงานเขต หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น หรือจากสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือสถานกงสุลใหญ่ไทย
  • กรณีบิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสและผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของมารดา มารดาสามารถลงนามให้ความยินยอมฯ ได้ ฝ่ายเดียวพร้อมกับบันทึกคําให้การรับรองการปกครองบุตร (ป.ค.14) ที่ออกโดยอําเภอ สานักงานเขต หรือสานักทะเบียนท้องถิ่น และบัตรประจําตัวประชาชนฉบับจริงของมารดา
  • กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนหย่า บิดาหรือมารดาที่ระบุให้เป็นผู้ใชอํานาจปกครองผู้เยาว์แต่ผู้เดียวในบันทึกการหย่า สามารถเป็นผู้ลงนามให้ความยินยอมฯ ได้ฝ่ายเดียวพร้อมบัตรประจําตัวประชาชนฉบับจริงของบิดาหรือมารดาแล้วแต่กรณี
  • กรณีผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม - ให้ผู้รับบุตรบุญธรรมเป็นผู้ลงนามให้ความยินยอมฯ พร้อมกับทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม และบัตรประจําตัวประชาชนตัวจริงของผู้รับบุตรบุญธรรม
  • กรณีบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต - ให้บิดาหรือมารดาที่ยังมีชีวิตมาลงนามให้ความยินยอมฯ พร้อมกับใบมรณบัตรของอีกฝ่ายหนึ่ง และบัตรประชาชนตัวจริงของบิดาหรือมารดาแล้วแต่กรณี
  • กรณีอื่นๆ ที่จะต้องมีคําสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้มีอํานาจปกครอง เช่น ก) กรณีบิดาและมารดาเสียชีวิต ข) กรณีบิดาหรือมารดาผู้เยาว์เป็นชาวต่างชาติมิไดจดทะเบียนสมรสและไม่สามารถตามหาอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ความยินยอมได้ ค) กรณีบิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสแต่บุตรอยู่ในความดูแลของบิดาฝ่ายเดียวมาโดยตลอดและไม่สามารถติดต่อมารดาได้ให้ผู้ปกครองที่มีชื่อระบุตามคําสั่งศาลเป็นผู้ลงนามให้ความยินยอมฯ พร้อมกับคําสั่งศาลฯ และบัตรประจําตัวประชาชนตัวจริงของผู้มีอํานาจปกครองตามคําสั่งศาล 

เอกสารประกอบ

การขอทำหนังสือเดินทาง_March_2022